กันยายน 15, 2024

“สพฐ.” แถลงผลการประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี 2567

0 0
Read Time:13 Minute, 23 Second

ที่กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ โดยนายวินัย รอดจ่าย รองประธานคณะกรรมการพิจารณาตัดสินการประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2567 เป็นประธานในการแถลงข่าวผลการประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2567 ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.วิษณุ ทรัพย์สมบัติ ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ร่วมกล่าวถึงโครงการการประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี พ.ศ.2567 และมี นางสุกัญญา งามบรรจง รองประธานคณะกรรมการพิจารณาตัดสินฯ, นายณัฐกร วุฒิชัยพรกุล อุปนายกฝ่ายในประเทศ สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย ร่วมแถลงข่าว ณ บริเวณสวนวันครู หน้าอาคาร สพฐ. 1 กระทรวงศึกษาธิการ

นายวินัย รอดจ่าย เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดประกวดหนังสือดีเด่นมาอย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตและการกระจายหนังสือดี มีคุณภาพ และสารประโยชน์สู่สาธารณชนให้มากยิ่งขึ้น และเพื่อกระตุ้นให้คนไทยมีนิสัยรักการอ่าน รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้ผู้จัดพิมพ์ ผู้ประพันธ์ ผู้วาดภาพประกอบ และบุคคลทั่วไปผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในวงการผลิตหนังสือ เกิดความตระหนักและให้ความสำคัญที่จะผลิตหนังสือดี มีคุณค่า มีสารประโยชน์ รวมทั้งพัฒนารูปแบบและเนื้อหาสาระให้น่าสนใจ ทำให้เด็ก เยาวชน และประชาชน มีหนังสืออ่านที่มีคุณภาพเพิ่มมากขึ้น สำหรับการประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2567 เป็นการประกวดหนังสือที่ตีพิมพ์โฆษณาเป็นเล่มบริบูรณ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2566 ในปีนี้มีผู้ประพันธ์ ผู้จัดพิมพ์ และหน่วยงานต่างๆ ร่วมส่งหนังสือประกวดรวมจำนวนทั้งสิ้น 338 เรื่อง จากสำนักพิมพ์กว่า 90 แห่ง แยกเป็นกลุ่มหนังสือต่างๆ ได้แก่ หนังสือสารคดี หนังสือนวนิยาย หนังสือกวีนิพนธ์ หนังสือรวมเรื่องสั้น หนังสือสำหรับเด็กเล็ก อายุ 3-5 ปี หนังสือสำหรับเด็ก อายุ 6-11 ปี หนังสือสำหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12-18 ปี หนังสือการ์ตูน และ หรือนิยายภาพ และหนังสือสวยงาม

 

โดยการพิจารณาตัดสินการประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2567 สพฐ.ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาตัดสินประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2567 ซึ่งมี ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ. เป็นประธานกรรมการ, นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการ กพฐ., นายวินัย รอดจ่าย และนางสุกัญญา งามบรรจงเป็นรองประธานกรรมการฯ มีผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันทั้งภาครัฐและเอกชน เป็นกรรมการ และนายวิษณุ ทรัพย์สมบัติ ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการ

สำหรับผลการพิจารณาตัดสินหนังสือให้ได้รับรางวัลหนังสือดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2567 มีหนังสือได้รับรางวัล 56 เรื่อง แยกเป็น รางวัลดีเด่น 14 เรื่อง รางวัลชมเชย 42 เรื่อง สำหรับหนังสือที่ได้รับรางวัล ดังรายชื่อต่อไปนี้

รางวัลดีเด่น 14 เรื่อง ดังนี้
๐ หนังสือสารคดี มี 3 ด้าน
1) ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ไม่มีหนังสือเรื่องใดสมควรได้รับรางวัล
2) ด้านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และชีวประวัติ เรื่อง “กุหลาบเปอร์เชียในแดนสยาม”” ประพันธ์โดย กุสุมา รักษมณี ; จัดพิมพ์โดยมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
3) ด้านการท่องเที่ยว อาหาร ฯลฯ เรื่อง “คู่มือนำชม 33 พระอารามหลวงแห่งกรุงรัตนโกสินทร์” ประพันธ์โดย ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ ; จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จำกัด)

๐ หนังสือนวนิยาย เรื่อง “หากน้ำตายังคิดถึงก้อนเมฆ” ประพันธ์โดย ศิริ มะลิแย้ม ; จัดพิมพ์โดย แป้นพิมพ์ พับลิชชิ่ง
๐ หนังสือกวีนิพนธ์ เรื่อง “ท่ามกลางวิถีโลกพลิกผัน” ประพันธ์โดย วรวุฒิ ภักดีบุรุษ ; จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์เรืองอรุณ
๐ หนังสือรวมเรื่องสั้น เรื่อง “DIVINE BEING ไม่ใช่มนุษย์ และตัวตนอื่นๆ” ประพันธ์โดย จิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท ; จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์แซลมอน ในเครือบริษัท บันลือ พับลิเคชั่นส์ จำกัด
๐ หนังสือสำหรับเด็กเล็ก อายุ 3 – 5 ปี เรื่อง “เจ้าชายน้อยกับเพื่อนใหม่ในล้านนา” ประพันธ์โดย ปรีดา ปัญญาจันทร์ ; จัดพิมพ์โดย มูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน
๐ หนังสือสำหรับเด็ก อายุ 6 – 11 ปี มี 2 ประเภท
1) ประเภทบันเทิงคดี เรื่อง “เรื่องเล่าชาวชะนี” ประพันธ์โดย จริยา บรอคเคลแมน และจันทร์เพ็ญ ศรลัมพ์ ; จัดพิมพ์โดย NSTDA Shop สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
2) ประเภทสารคดี เรื่อง “เมื่อมะลิผลิบาน” ประพันธ์โดย ผศ. สุทัศน์ ปาละมะ ; จัดพิมพ์โดยกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

๐ หนังสือสำหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12 – 18 ปี มี 3 ประเภท
1) ประเภทบันเทิงคดี เรื่อง “โคโค่กับนกฟีนิกซ์ที่หายไป” ประพันธ์โดย วงเวลา ; จัดพิมพ์โดย ภารวี ชีวพันธุศรี
2) ประเภทสารคดี เรื่อง “ปาด นักรายงานอากาศประจำบ้าน” ประพันธ์โดย ศาตพจี (สาด พะ จี) รินสุวรรณ ; จัดพิมพ์โดย Artbook
3) ประเภทบทร้อยกรอง ไม่มีหนังสือเรื่องใดสมควรได้รับรางวัล

๐ หนังสือการ์ตูน และ หรือนิยายภาพ มี 3 ประเภท
1) การ์ตูน และ หรือนิยายภาพสำหรับเด็ก (อายุ 6 – 11 ปี) ไม่มีหนังสือเรื่องใดสมควรได้รับรางวัล
2) การ์ตูน และหรือนิยายภาพทั่วไป (อายุ 12 ปีขึ้นไป) เรื่อง “เบบี้ ONE MORE TIME” ประพันธ์โดย วัฒนา เพ็ชรสุวรรณ์; จัดพิมพ์โดย บริษัท บันลือ พับลิเคชั่นส์ จำกัด
3) การ์ตูนปกิณกะเชิงสร้างสรรค์ เรื่อง ชุดการ์ตูนเล่มละบาป : “แลกชีวิต”/”ฤทธิ์โจรบู๊”/”ชู้ไร้อันดับ”/”ลับ ลวง ใจ”/”เมาให้ลืม””ประพันธ์โดย นิพนธ์ นิค ; จัดพิมพ์โดย บริษัท บันลือ พับลิเคชั่นส์ จำกัด

๐ หนังสือสวยงาม มี 2 ประเภท
1) ประเภททั่วไป เรื่อง “เทวรูปา” : ประติมานวิทยาฮินดูจากประติมากรรมชิ้นเอกในศิลปะอินเดีย ประพันธ์โดย ศาสตราจารย์ ดร. เชษฐ์ ติงสัญชลี ; จัดพิมพ์โดย ทีมงาน What The Book Publishing
2) ประเภทสำหรับเด็ก เรื่อง “ร้องเป็นเล่นสนุก บทร้องเล่นเด็กไทย” รวบรวมโดย พี่มู ; จัดพิมพ์โดยมูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน
รางวัลชมเชย 42 เรื่อง ดังนี้

๐ หนังสือสารคดี มี 3 ด้าน
– ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม มีรางวัลชมเชย 3 เรื่อง ได้แก่
1) “เข้าใจ…แล้วไปต่อ” ประพันธ์โดย นพ. ธิติพันธ์ ธานีรัตน์ ; จัดพิมพ์โดยโรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
2) “ภูมิทัศน์ภายในอาคาร””ประพันธ์โดย ปารณ ชาตกุล ; จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3) “สัตว์ทะเลไทยใกล้สูญพันธุ์” ประพันธ์โดย ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ; จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์
– ด้านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และชีวประวัติ มีรางวัลชมเชย 3 เรื่อง ได้แก่
1) “เครื่องเคลือบดินเผาประดับในศิลปกรรมล้านนา “ประพันธ์โดย ฐาปกรณ์ เครือระยา ; จัดพิมพ์โดย โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (อพ. สธ.-มจ.) ประจำปีงบประมาณ 2566
2) “พุทธศิลป์ล้านนา”: รูปแบบ แนวคิด และการวิเคราะห์ ประพันธ์และจัดพิมพ์โดย ดร.ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี
3) “โลก/สลับ/สี” ประพันธ์โดย ชนินทร์ ชมะโชติ ; จัดพิมพ์โดย บริษัทวิริยะธุรกิจ จำกัด (สำนักพิมพ์สารคดี)
– ด้านการท่องเที่ยว อาหาร ฯลฯ มีรางวัลชมเชย 2 เรื่อง ได้แก่1) “เราไม่ได้ไปคีร์กีซสถานกันทุกวัน” ประพันธ์โดย พลอยอาภา ชุณหะนันทน์ ; จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์บัน ในเครือ บจก. บันลือ พับลิเคชั่นส์
2) “25 HOW TO อยู่กับ คนออทิสติก อย่างเข้าใจ” ประพันธ์โดย สุรเชษฐ์ ฆังนิมิตร ; จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ไรเตอร์โซล

๐ หนังสือนวนิยาย มีรางวัลชมเชย 3 เรื่อง ได้แก่
1) “กาสักอังก์ฆาต” ประพันธ์โดย กิตติศักดิ์ คงคา ; จัดพิมพ์โดย บริษัท 13357 จำกัด
2) “แก่นไม้หอม” ประพันธ์โดย กิ่งฉัตร ; จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ลูกองุ่น
3) “ออกลายงิ้ว” ประพันธ์โดย แพทริก เหล่า ; จัดพิมพ์โดย บริษัทเป็นหนึ่งสำนักพิมพ์ จำกัด

๐ หนังสือกวีนิพนธ์ มีรางวัลชมเชย 3 เรื่อง ได้แก่
1) “จักรวาลในชานเรือน” ประพันธ์โดย รังสิมันต์ จุลหริก ; จัดพิมพ์โดย สมโชค จุลหริก
2) “มังกรคาบแก้ว ประพันธ์และจัดพิมพ์โดย ชัยรัตน์ วงศ์เกียรติ์ขจร
3) “รมณีย์แห่งชีวิต” ประพันธ์โดย นภาลัย สุวรรณธาดา ; จัดพิมพ์โดย มหาวิทยาลัยรังสิต

๐ หนังสือรวมเรื่องสั้น มีรางวัลชมเชย 3 เรื่อง ได้แก่
1) “คอลลาจบรรเลง” ประพันธ์โดย แพรพลอย วนัช ; จัดพิมพ์โดย วรรณวนัช เตชะศิลป์เจริญ
2) “ท่านกัปตันและเรื่องเล่าของคนอื่นๆ” ประพันธ์โดย ศิริวร แก้วกาญจน์ ; จัดพิมพ์โดย ผจญภัยสำนักพิมพ์
3) “หรือเราถูกเลือกให้แหลกสลาย” ประพันธ์โดย ศิริ มะลิแย้ม ; จัดพิมพ์โดย แป้นพิมพ์ พับลิชชิ่ง

๐ หนังสือสำหรับเด็กเล็ก อายุ 3-5 ปี มีรางวัลชมเชย 3 เรื่อง ได้แก่
1) “ชื่นใจ ผลไม้ไทยอร่อยจัง ประพันธ์โดย ทิพย์วรรณ แสวงศรี ;
จัดพิมพ์โดย บริษัท คัง ซวน วัฒนธรรมและการศึกษา (ไทยแลนด์) จำกัด
2) “ร้องเป็นเล่นสนุก บทร้องเล่นเด็กไทย” รวบรวมโดย พี่มู ; จัดพิมพ์โดยมูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน
3) “หมู หมู” ประพันธ์โดย ครูชีวัน ; จัดพิมพ์โดยมูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ร่วมกับศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

๐ หนังสือสำหรับเด็ก อายุ 6-11 ปี มี 2 ประเภท ประเภทบันเทิงคดี มีรางวัลชมเชย 2 เรื่อง ได้แก่
1) “กาลครั้งหนึ่ง ณ กาลาปากอส” ประพันธ์โดย ปองพล อดิเรกสาร ; จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น จำกัด
2) “ชวนเล่นรอบดอยตุง” ประพันธ์โดย พี่หมีขาว ; จัดพิมพ์โดย มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์

ประเภทสารคดี มีรางวัลชมเชย 3 เรื่อง ได้แก่
1) “ก๊อบแก๊บกับเพ็ตตี้” ประพันธ์โดย แมวอมยิ้ม ; จัดพิมพ์โดยกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
2) “เที่ยวป่าพาเพลิน” ประพันธ์โดย พี่หมี แห่งป่าใหญ่ ; จัดพิมพ์โดย กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
3) “พายล่องท่องเพลิน” ประพันธ์โดย พี่หมี แห่งป่าใหญ่ ; จัดพิมพ์โดยกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

๐ หนังสือสำหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12 – 18 ปี มี 3 ประเภท ประเภทบันเทิงคดี มีรางวัลชมเชย 2 เรื่อง ได้แก่
1) “แค่สนิทกับตัวเองให้เป็น” ประพันธ์โดย คิดมาก ;จัดพิมพ์โดย springbooks ในเครือ บริษัท อมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
2) “เรื่องของ ป้อง” ประพันธ์โดย กอบสินธุ์ กล่อมปัญญา ;จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์สีน้ำ

ประเภทสารคดี มีรางวัลชมเชย 3 เรื่อง
1) “ปีสุดท้ายระหว่างพ่อกับลูกชาย” ประพันธ์โดย กิตติศักดิ์ คงคา, ณภัทร สัตยุตม์ และถนอม เกตุเอม ;จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ 13357 จำกัด
2) “วิถีเรือ สู้เพื่อฝัน บึ้ด..จ้ำ..บึ้ด” ประพันธ์โดย ฤทธิฤต อัคริยานนท์ ; จัดพิมพ์โดย แป้นพิมพ์ พับลิชชิ่ง
3) “A LONG WAY TO GO ไปในทางที่ไม่รู้” ประพันธ์โดย ภาริอร วัชรศิริ ; จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์บัน ในเครือ บจก. บันลือ พับลิเคชั่นส์

ประเภทบทร้อยกรอง มีรางวัลชมเชย 3 เรื่อง ได้แก่
1) “ภูริทัตชาดก” ประพันธ์และจัดพิมพ์โดย สุปาณี พัดทอง
2) “เมธาวาที” ประพันธ์โดย เมธาวี ก้านแก้ว ; จัดพิมพ์โดย มหาวิทยาลัยรังสิต
3) “อนันตราสวามิภักดิ์” ประพันธ์และจัดพิมพ์โดย ดร. เพชรยุพา บูรณสิริจรุงรัฐ

๐ หนังสือการ์ตูน และ หรือนิยายภาพ มี 3 ประเภท ประเภทสำหรับเด็ก (อายุ 6 – 11 ปี) มีรางวัลชมเชย 1 เรื่อง
1) “เรื่องผีๆ รอบโลก: ผีอินโดนีเซีย”ประพันธ์โดย ทองปราย สตูดิโอ ; จัดพิมพ์โดย บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด

ประเภททั่วไป (อายุ 12 ปี ขึ้นไป) มีรางวัลชมเชย 3 เรื่อง ได้แก่
1) “การ์ตูนประวัติศาสตร์ สุโขทัย เมืองมรดกโลก” ประพันธ์โดย นายณัฐพงศ์ ลาภบุญทรัพย์ ; จัดพิมพ์โดยกองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
2) “จิตตะ X เลมี่ กับภารกิจแห่งโลกเมต้าเวิร์ส” ประพันธ์โดย สุธารส เนินปลอด ; จัดพิมพ์โดย บริษัท สกาแล็บ จำกัด
3) “LIFE of TRY ชีวิตต่าย ขายหัวเราะ” ประพันธ์โดย ต่าย ; จัดพิมพ์โดย บริษัท บันลือ พับลิเคชั่นส์ จำกัด
ประเภทปกิณกะ (ปะ-กิน-นะ-กะ) เชิงสร้างสรรค์ไม่มีหนังสือเรื่องใดสมควรได้รับรางวัล

๐ หนังสือสวยงาม มี 2 ประเภท
ประเภททั่วไป มีรางวัลชมเชย 2 เรื่อง ได้แก่
1) “แผนที่ประเทศไทย 77 จังหวัด: ภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม และแหล่งท่องเที่ยว” ประพันธ์โดย สิริรัตน์ ยิ้มเจริญ และ พรเพ็ญ ครูรัตนานุวัฒน์ ;จัดพิมพ์โดย บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด
2) “วัดปทุมวนาราม ” ประพันธ์โดย รองศาสตราจารย์ ดร. สันติ ฉันทวิลาสวงศ์, กรรชิต จิตระทาน และรองศาสตรจารย์กวีไกร ศรีหิรัญ ; จัดพิมพ์โดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประเภทสำหรับเด็ก มีรางวัลชมเชย 3 เรื่อง ได้แก่
1) “ชื่นใจ ผลไม้ไทยอร่อยจัง” ประพันธ์โดย ทิพย์วรรณ แสวงศรี ; จัดพิมพ์โดย บริษัท คัง ซวนวัฒนธรรมและการศึกษา (ไทยแลนด์) จำกัด
2) “เมืองดินดี” ประพันธ์โดย แมวอมยิ้ม ; จัดพิมพ์โดย โครงการ นิทานวิทยาศาสตร์น่ารู้ สู่หัวใจรักษ์สิ่งแวดล้อมกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
3) “หนูรอบรู้ ชวนเพื่อนดูบ้านของสัตว์” ประพันธ์โดย นันทวัน วาตะ ; จัดพิมพ์โดย Amarin Kids ในเครือ บริษัทอมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)

ด้านนายณัฐวุฒิ วุฒิชัยพรกุล อุปนายกฝ่ายในประเทศ สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่าผู้ที่ได้รับรางวัลหนังสือดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2567 จะได้เข้ารับพระราชทานรางวัลในพิธีเปิดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 52 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 22 โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับเชิญเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ และพระราชทานพระราชวโรกาสให้นำผู้ชนะการประกวดหนังสือดีเด่นเข้าเฝ้ารับพระราชทานรางวัล ในวันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 15.00 น. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

About The Author